วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

PLC

PLC คืออะไร?
          Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
          PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย

        ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER
1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นplc คืออะไร ลองอ่านดู

September 12th, 2011 admin
Programmable Logic Controller หรือ PLC คือ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง ที่สามารถโปรแกรมการควบคุมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้โดยมีหน่วยความจำในการเก็บโปรแกรม สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อเข้ากับขั้วเข้าและออกของ PLC ซึ่ง การคิดค้น Plc ขึ้นมาเพื่อใช้แทน วงจรควบคุมไฟฟ้าแบบรีเรย์ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งวงจรรีเรย์มีความยุ่งยากในการออกแบบ และกินเนื้อที่ในการติดตั้งมากเกินไป ซึ่ง plc สามารถลดและแก้ปัญหานั้นได้ทั้งหมด ปัจจุบัน plc มีรุ่นใหม่ๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายมากมาย หากทางโรงงานอุตสาหกรรม หรือบริษัทใดต้องการสอบถาม ราคา หรือข้อมูลเกี่ยวกับ plc สอบถาม ฟาร์อีส อินเตอร์ ซัพพลาย ผู้นำเข้า จำหน่าย plc mitsubishi, plc siemens, plc omron และยี่ห้ออื่นมากมาย


    PLC จำแนกขนาดอย่างไร ?
  
          เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ซึ่งในการนำเอาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานในแต่ละชนิดนั้น จะพิจารณาจากขนาดของงานที่จะนำไปควบคุมเป็นหลัก ดังนั้นจึงเป็นผลให้ผู้ผลิตโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำการผลิต PLC ออกมาหลากหลายระดับ ซึ่งในแต่ละระดับก็มีสมรรถภาพแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท
           โดยทั่วไปการแบ่งขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์จะพิจารณาจากขนาดของหน่วย ความจำโปรแกรม (Program memory) และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท(Input/Output chanels) สูงสุดที่ระบบโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจากตารางที่ 1-2 จะแสดงการจำแนก PLC ตามขนาดของหน่วยความจำโปรแกรม และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท
ขนาดของ PLC
จำนวน I/O สูงสุด
หนวยความจำโปรแกรม
ขนาดเล็ก (Small size)
ไม่เกิน 128 / 128
4 Kbyte (2,000 Statements)
ขนาดกลาง (Medium size)
ไม่เกิน 1024 / 1024
16 Kbyte (8,000 Statements)
ขนาดใหญ่ (Large size)
ไม่เกิน 2048 / 2048
64 Kbyte (32,000 Statements)
ขนาดใหญ่มาก (Very large size)
ประมาณ 8192 / 8192
256 Kbyte (128,000 Statements)
แสดงการจำแนกขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์
           แต่อย่างไรก็ตามในการพิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ เพื่อนำไปใช้งานจะต้องพิจารณาองค์ประกอบ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Processor, Cycle time, Language facilities, Function operations, Expansion capability, Communication port เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดเล็ก

SIMATIC S7-200 ของ SIEMENS

SIMATIC S5-95U ของ SIEMENS
โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดกลาง

SIMATIC S7-300 ของ SIEMENS

SIMATIC S5-115U ของ SIEMENS
โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดใหญ่

SIMATIC S7-400 ของ SIEMENS

SIMATIC S5-155U ของ SIEMENS
         นอกจากนั้นเรายังสามารถ ที่จะแบ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ตามโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
         1.แบบ Compact
                จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีหน่วยอินพุท/เอ้าพุท และหน่วยสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ประกอบรวมกันอยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S7-200 / Siemens LOGO ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่มีการกำหนดจำนวนอินพุท/เอ้าท์พุท ที่แน่นอนและมีจำนวนไม่มาก เช่นใช้ในการควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น

Siemens LOGO

โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ที่มีโครงสร้างแบบ Compact
   2.แบบ Modular
        จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ที่มีลักษณะเป็นโมดูล เชื่อมต่อกันอยู่บน Rack สามารถจะทำการถอดและเสียบโมดูลที่ต้องการใช้งาน Rack ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของโปรแกรม เมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ นั้นๆ โดยบน Rack จะมีบัสต่างๆ เช่น บัสข้อมูล, บัสแอดเดรส , บัสควบคุม และ บัสสำหรับจ่ายกำลังงานไฟฟ้าให้กับโมดูลต่างๆ ซึ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ในปัจจุบันนิยมที่จะมีโครงสร้างในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องของจำนวน อินพุท/เอ้าท์พุท และโมดูลฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิก-คอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S5 95U, S7 300, S7 400 เป็นต้น 

การประยุกต์ใช้งาน


การประยุกต์ใช้งาน PLC รุ่น KV-P ซีรี่ส์
ประสิทธิภาพดีเยี่ยมในการประยุกต์ใช้งานอัตโนมัติและการตรวจจับ
โปรดใช้เมนูแบบพูลดาวน์ของฝ่ายบริการข้างต้น เพื่อดาวน์โหลดแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ หากต้องการรายละเอียดที่ครบถ้วนสมบูรณ์




เป็นเคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ประสิทธิภาพสูง
แสดงการทำงานของเคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์สูงสุด 128 รายการได้อย่างง่ายดายโดยใช้ PLC
แสดงผลเคาน์เตอร์ความเร็วสูง 2 Phase ในตัว 2 ชุดพร้อมด้วยเคาน์เตอร์และไทม์เมอร์ความเร็วปกติในตัวบนจอแสดงผลได้ นอกจากนั้น ยังสามารถตรวจสอบและแก้ไขค่าของไทม์เมอร์และเคาน์เตอร์เหล่านี้บนจอแสดงผลได้ สิ่งที่ต่างจากเคาน์เตอร์หรือไทม์เมอร์ทั่วไปก็คือ ไทม์เมอร์เหล่านี้สามารถตั้งค่าจำนวนเอาต์พุตได้ ดังนั้นจึงสามารถรองรับการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย และด้วยการใช้เคาน์เตอร์ความเร็วสูง จึงสามารถนำแผงควบคุมไปใช้วัดความเร็วหรือการนับรอบความเร็วสูงได้


เป็นตัวแสดงค่าการหมุน
วัดความถี่การหมุนของเฟืองและ Rotary Encoder โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่ซับซ้อน
โดยตั้งค่ารอบการวัดความถี่เป็นมิลลิวินาทีใน DM ผลการวัดจะจัดเก็บใน DM โดยอัตโนมัติ และสามารถแสดงผลลัพธ์ในแผงควบคุมการเข้าใช้ข้อมูล (Data Access) ได้


เป็นแคมสวิตช์
ใช้เป็นแคมสวิตช์แบบง่าย
PLC ชนิดมีจอแสดงผลในตัวทำให้ Rotary Encoder ที่มีราคาไม่แพงสามารถทำงานเหมือนแคมสวิตช์ได้ เพียงแค่เชื่อมต่อ Rotary Encoder และกำหนดมุมที่ต้องการให้กับ DM รีเลย์จะเปลี่ยนเป็น ON หรือ OFF ที่มุมที่ต้องการ สามารถตั้งค่าได้สูงสุด 32 จุดโดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 องศา จึงไม่จำเป็นต้องใช้แคมสวิตช์ที่มีราคาแพง หากการประยุกต์ใช้งานจำเป็นต้องอาศัยความถูกต้องเที่ยงตรง วิธีการนี้จะเหมาะสมที่สุดสำหรับการลดต้นทุน


เป็นเครื่องสร้างพัลส์ (Pulse Generator)
ควบคุมมอเตอร์ได้อย่างง่ายดาย
สามารถแสดงความถี่ที่กำหนดไว้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมได้ ซึ่งช่วยให้ควบคุมความเร็วได้อย่างง่ายดายจากแผงควบคุมด้านหน้า นอกจากนั้น PLC ชนิดมีจอแสดงผลในตัวยังมีฟังก์ชันตรวจจับตำแหน่ง ซึ่งทำให้สามารถควบคุมมอเตอร์ได้โดยไม่ต้องใช้ยูนิตตรวจจับตำแหน่งที่มีราคาแพง